วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2562

รองเท้า


ข่าวเทคโนโลยี

อาดิดาส SolarBOOST รองเท้าที่ใช้เทคโนโลยีจากกระสวยอวกาศ 

 

   
    อาดิดาส รันนิ่ง เปิดตัวรองเท้าวิ่งรุ่นใหม่ล่าสุด โซลาร์บูสท์ (SolarBOOST)” สำหรับผู้ที่ต้องการประสิทธิภาพในการใช้งาน ความนุ่มสบาย และการคืนพลังในขณะวิ่งได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โซลาร์บูสท์ คือรองเท้าวิ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อการใช้งานเป็นหลัก โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากวิศวกรรมศาสตร์ของนาซ่าและเทคโนโลยีที่ดีที่สุดของอาดิดาส จึงทำให้ โซลาร์บูสท์ เป็นรองเท้าวิ่งที่มีความเบา มีการใช้เทคโนโลยี Tailored Fibre Placement ในการจัดวางเส้นใย ซึ่งเป็นวัสดุจากพาร์ลี่ย์ (Parley)  อีกทั้งยังมีการตัดเย็บและนำมาประกอบอย่างสมบูรณ์แบบในทุกตารางมิลลิเมตร จนได้ออกมาเป็นรองเท้าที่มีทั้งความนุ่มสบาย ความกระชับ และการซัพพอร์ตที่เหนือกว่า แถมยังมีน้ำหนักเบา ทำให้นักวิ่งสามารถเคลื่อนตัวได้อย่างมั่นใจ ไม่ว่าจะใช้ความเร็วในการวิ่งหรือวิ่งในระยะทางในระดับไหนก็ตาม
    มร.คริส เอ็คแมน ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายผลิตภัณฑ์อาดิดาส รันนิ่ง กล่าวว่า ถึงเวลาแล้วที่เราจะท้าทายขีดศักยภาพของรองเท้าวิ่ง ในการที่จะสร้างรองเท้าวิ่งที่มีน้ำหนักเบา ซัพพอร์ตดี สวมใส่สบาย เหมาะสำหรับนักวิ่งทุกคนนั้น เราจึงมองหาแรงบันดาลใจจากวงการยานยนต์และยานอวกาศ จนเราได้ค้นพบเทคโนโลยี Tailored Fibre Placement ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการผลิตที่ทำให้เราสามารถเย็บชิ้นส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันได้อย่างถูกต้องและแม่นยำมากยิ่งขึ้น เราจึงนำเทคโนโลยีนี้มารวมเข้ากับ Energy Rail และ BOOST ที่มีการพัฒนาขึ้นมาใหม่ และด้วยการริเริ่มใช้เทคโนโลยี Tailored Fibre Placement ในวงการรองเท้าวิ่ง ทำให้เราสามารถสร้างสรรค์รองเท้าวิ่งของอาดิดาสที่มีประสิทธิภาพสูงสุดขึ้นมาได้สำเร็จ
  รองเท้าวิ่ง โซลาร์บูสท์ วางจำหน่ายในวันที่ 1 มิถุนายน 2018 ในราคา 6,000 บาท ที่ร้านอาดิดาส แบรนด์ เซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ และอาดิดาส สปอร์ต เพอร์ฟอร์แมนซ์ทุกสาขา และอาดิดาส ออนไลน์ สโตร์
ขอขอบคุณ
ข้อมูล : Kaoja



วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2561

“Google” ไม่ต่อสัญญาพัฒนาเทคโนโลยี


“Google” ไม่ต่อสัญญาพัฒนาเทคโนโลยีให้ เพนตากอนหลังพนักงานประท้วงรุนแรง




   




  กูเกิลไม่ต่อสัญญาพัฒนาเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยให้ เพนตากอนหลังพนักงานประท้วงแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับการร่วมงานกับกองทัพ
        สำนักข่าว CNN รายงานอ้างอิงแหล่งข่าววงใน ระบุว่า ไดแอน กรีน ซีอีโอของกูเกิล คลาวด์ (Google Cloud) กล่าวกับพนักงานในบริษัทกูเกิลว่า ภารกิจการทำงานร่วมกับกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ หรือ เพนตากอน (Pentagon) ภายใต้โครงการรักษาความปลอดภัยด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่า มาเวน” (Maven) จะยังคงดำเนินต่อไปตามแผนเดิมจนกระทั่งเดือนมีนาคม 2019 เท่านั้น 
        โครงการมาเวนคือโครงการที่นำเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ (AI) เข้ามาใช้พัฒนาโดรนคุณภาพสูงของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เพื่อจุดประสงค์หลักในการใช้ตรวจตรารักษาความปลอดภัยที่ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม 2018 ที่ผ่านมา
        โดยมีหลักในการทำงานง่ายๆ ก็คือการที่กูเกิลจะช่วยพัฒนาโดรนของเพนตากอนด้วยเทคโนโลยี Image Classification หรือการแยกแยะสิ่งของต่างๆ จากการถ่ายภาพด้วยโดรน เช่น การระบุว่าสิ่งนี้คืออาคาร สิ่งนี้คือรถเข็น และสิ่งนี้คือรถยนต์ เป็นต้น
        ในด้านของรายได้ ผู้สื่อข่าวของเว็บไซต์ Gizmodo สื่อแรกที่นำเสนอข่าวนี้ชี้ว่าสัญญาครั้งนี้มีมูลค่าน้อยนิดเมื่อเทียบกับรายได้หลักจากการให้บริการปกติของกูเกิล เพราะมีการคาดการณ์ว่ากูเกิลน่าจะได้รับค่าจ้างจากเพนตากอนเป็นเงินประมาณ 15 ล้านดอลลาร์ หรือราว 480 ล้านบาทเท่านั้น แต่แหล่งข่าวเชื่อว่าเม็ดเงินไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้กูเกิลตอบตกลงร่วมงานกับเพนตากอน แต่เป็นโอกาสที่จะได้ร่วมงานในโปรเจกต์ที่ใหญ่กว่าในอนาคต 

ขอขอบคุณ
ภาพ :new.qq.com


วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

Honda หยุดผลิตหุ่นยนต์ ASIMO




ข่าวเทคโนโลยี

   Honda หยุดผลิตหุ่นยนต์ ASIMO พร้อมนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์เดินได้ไปต่อยอดด้านอื่น



งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา เช่นเดียวกับการหุ่นยนต์ที่เดินได้ 2 ขาสุดฉลาดอย่างASIMO หรือ คนไทยรู้จักในชื่อว่า อาซิโม กำลังจะต้องเป็นความทรงจำไป เมื่อ Honda ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของญี่ปุ่นได้ออกมาบอกว่า จะยุติการผลิตหุ่นยนต์ ASIMO

 ซึ่งข่าวนี้ทำให้หลายคนค่อนข้างตกใจไม่น้อย อย่างไรก็ดี ฮอนด้าบอกว่า จะนำเทคโนโลยีจาก ASIMO ไปต่อยอดทำอย่างอื่นต่อและคงเห็นในโลกอนาคต เช่นที่จัดแสดงในงาน CES 2018 กับ Concept Uni Cub ที่เป็นเก้าอี้ช่วยเหลือในเรื่องการเดิน นั่นเอง

 ความเป็นมาของหุ่นยนต์ ASIMO เริ่มต้นในการพัฒนามาตั้งแต่ปี 1980 จนสำเร็จออกมาเป็นหุ่นยนต์ขนาดไม่เล็กและไม่ใหญ่เกินไป เปิดตัวครั้งแรกในปี 2000 โดย ASIMO เป็นชื่อที่ย่อมาจาก Advanced Step in Innovative Mobility

ขอขอบคุณ

ข้อมูล :The Verge

ภาพ :Asimo Honda




วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2561